พฤติกรรมของนกแก้ว
ในแต่ละช่วงเวลาของปี หากเราเฝ้าสังเกตรายละเอียดพฤติกรรมของนก นอกเหนือจากที่นกได้แสดงออกในแต่ละวัน จะพบว่านกทุกชนิดล้วนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา บางช่วงจะพบนกส่งเสียงร้องดังอยู่ตลอดเวลา ขณะที่บางฤดูกลับสงบเงียบ บางครั้งอาจได้พบนกชนิดแปลกๆ ใกล้บ้านแต่บางเวลานกที่เราเคยพบเห็นอยู่ประจำกลับมีสีสันเปลี่ยนไป สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับวงจรชีวิตของ นก ซึ่งมีความสัมพันธ์กันสำหรับการดำรงชีวิตของนกท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ เปลี่ยนไปตามฤดูกาล ในรอบหนึ่งปีวงจรชีวิตของนกสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
ช่วงฤดูผสมพันธุ์
เป็น ช่วงที่มีความสำคัญกับนกมากที่สุด เพราะเป็นโอกาสที่นกจะได้ผสมพันธุ์และออกลูก เพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไป นกแต่ละชนิดต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อฤดูผสมพันธุ์มาถึง ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่มีอาหารสมบูรณ์พอสำหรับเลี้ยงดูลูกนกให้รอดชีวิต นกส่วนใหญ่จึงมักวางไข่ในช่วงปลายฤดูแล้งไปจนถึงกลางฤดูฝน เพื่อให้ลูกนกเจริญเติบโตขึ้นมาในช่วงที่มีอาหารสมบูรณ์ แต่นกน้ำจะเลือกผสมพันธุ์กันในช่วงปลายฤดูฝน เพราะเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก มีอาหารอุดมสมบูรณ์สำหรับเลี้ยงลูกนกที่ออกจากรังพอดี
ใน แต่ละปีนกต้องผสมพันธุ์อย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ก็มีหลายชนิดที่ผสมพันธุ์มากกว่านั้น ช่วงเวลาในการผสมพันธุ์จะใกล้เคียงกันสำหรับนกชนิดนั้นๆ และนกมักจับคู่ผสมพันธุ์กันในถิ่นเดิมทุกปี แม้นกย้ายถิ่นยังต้องบินกลับไปสร้างรังวางไข่ยังถิ่นเดิม เพราะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการผสมพันธุ์และเลี้ยงลูกนก นกส่วนใหญ่จับคู่ผสมพันธุ์กับตัวเมียเพียงตัวเดียว บางชนิดจับคู่ด้วยกันตลอดชีวิต เช่น นกกระเรียน แต่บางชนิดตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว เช่น ไก่ ซึ่งตรงข้ามกับนกโป่งวิด ที่ตัวเมียจะเป็นฝ่ายผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว แล้วปล่อยให้ตัวผู้ฟักไข่และเลี้ยงลูกตามลำพัง
เมื่อ ถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์ ส่วนใหญ่นกตัวผู้จะเป็นฝ่ายสร้างความสนใจเพื่อดึงดูดให้ตัวเมียมาผสมพันธุ์ บางชนิดมีการเปลี่ยนสีขนให้สดใสขึ้น เช่น นกชายเลนจะผลัดขนสีสดใสต่างไปจากสีขนปกติส่วนนกยางจะมีขนฟูยาวสวยงาม นกบางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงอวัยวะส่วนอื่น เช่น นกโจรสลัดจะขยายถุงลมใต้คอให้โป่งพอดีเป็นสีแดงสด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนกในช่วงผสมพันธุ์ ช่วยให้เราสามารถจำแนกชนิดและเพศของนกได้ด้วย นอกจากนี้นกยังมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเกี้ยวพาราสีอีกหลายประการ เช่น เสียงร้อง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์นกทุกชนิดจะพากันส่งเสียงร้องค่อนข้างถี่กว่าช่วงอื่น สำหรับนกยูงตัวผู้จะดึงดูดตัวเมียโดยรำแพนอวดคลุมหางที่มีสีสันสวยงาม ส่วนนกกระเรียนใช้วิธีเต้นรำในการเกี้ยวพาราสีตัวเมีย นกบางชนิดมีการสร้างสถานที่พิเศษขึ้นสำหรับการเกี้ยวพาราสี เช่น นกหว้าจะปัดกวาดพื้นเป็นลานสะอาด เพื่อการร่ายรำเกี้ยวตัวเมีย และมีนกบางชนิดที่ตัวเมียเป็นฝ่ายเกี้ยวพาราสีตัวผู้เสียเอง เพราะมีสีสันสวยกว่า เช่น นกโป่งวิด นกคุ่มอืด
เมื่อ นกได้คู่ผสมพันธุ์แล้ว ก็มาถึงช่วงของการสร้างรัง เพื่อใช้วางไข่และเลี้ยงดูลูกนกให้ปลอดภัยจากศัตรูและสภาพอากาศที่ไม่เหมาะ สม รวมทั้งยังช่วยให้ความอบอุ่นแก่ไข่และลูกนก นกส่วนใหญ่จะสร้างรังใหม่ทุกปี แต่มีบางชนิดกลับไปใช้รังเดิม เช่น เหยี่ยวออสเปรคู่เดิมจะกลับไปซ่อมแซมรังเก่าใช้ จนรังมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนปีที่นกใช้วางไข่ นกบางชนิดก็ไม่สร้างรัง แต่จะวางไข่บนพื้นดินเฉยๆ แล้วทำการฟักไข่ตรงนั้น เช่น นกตบยุง และมีนกอีกหลายชนิดไม่รู้จักสร้างรัง แต่แอบวางไข่ในรังนกชนิดอื่นๆ เพื่อให้นกนั้นเลี้ยงลูกให้จนโต เช่น นกกาเหว่า นกอีวาบตั๊กแตน
สถาน ที่สร้างรังเป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่นกคำนึงถึง นกจะเลือกสร้างรังในจุดที่ศัตรูเข้าไปถึงได้ยากที่สุด เช่น ปลายกิ่งไม้ ตามโพรงไม้ บางชนิดทำรังอยู่บนเกาะกลางทะเลห่างไกลผู้คน เช่น นกบู๊บบี้ แต่มีบางชนิดสามารถปรับตัวเข้ามาทำรังตามบ้านเรือนหรือบริเวณใกล้เคียงตามใน เมืองได้ เช่น นกกระจอกบ้าน นกกางเขนบ้าน วัสดุที่นกใช้สร้างรังมักขึ้นอยู่กับลักษณะของรัง ซึ่งต่างกันไปตามชนิดของนกแต่ต้องคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงและไม่เป็นจุด เด่นให้สังเกต ได้ง่ายเป็นหลักส่วนใหญ่มักได้จากส่วนต่างๆ ของต้นไม้ เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ เยื่อไม้
เมื่อ แม่นกวางไข่แล้วตามปกตินกตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันฟักไข่แต่ส่วนใหญ่เป็น หน้าที่ของตัวเมียโดยจะผลัดกันฟัก ตัวผู้เป็นฝ่ายหาอาหารและช่วยฟักบางช่วง แม่นกต้องรักษาอุณหภูมิของไข่ให้คงที่เฉลี่ย 34 องศาเซลเซียส โดยใช้ ? แผ่นฟักไข่ ? ช่วยถ่ายเทความร้อนจากตัวแม่นกให้แก่ไข่ คอยรักษาอุณหภูมิไข่ไว้ไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป แผ่นฟักไข่เป็นบริเวณท้องที่ขนหลุดร่วงไปก่อนจะฟักไข่และมีเส้นเลือดมากมาย มาหล่อเลี้ยง นกบางชนิดไม่มีแผ่นฟักไข่ เช่น เป็ด จึงต้องใช้วิธีดึงขนอุยบริเวณหน้าท้องหรือหน้าอกให้ร่วงลงพื้นรังเพื่อสร้าง ความอบอุ่น นกบู๊บบี้ฟักไข่โดยใช้เท้าที่มีพังผืดและเต็มไปด้วยเส้นเลือดช่วยถ่ายเทความ ร้อนสู่ไข่ ทั้งนี้นกจะฟักไข่ทั้งกลางวันและกลางคืน ระยะเวลาฟักไข่เริ่มตั้งแต่ช่วงเวลาที่นกวางไข่ฟองสุดท้าย จนกระทั่งไข่ฟองสุดท้ายฟักออกเป็นตัว ส่วนใหญ่นกใช้เวลาฟักไข่นาน 2 สัปดาห์ แต่นกที่มีขนาดใหญ่จะใช้เวลานานกว่านี้
พ่อ แม่นกต้องคอยดูแลปกป้องและคุ้มครองลูกนกทันทีที่ออกจากไข่ ถ้าเป็นนกที่ทำรังบนพื้นดินพ่อแม่นกอาจคาบเปลือกไข่ไปทิ้งให้ไกลจากรัง เพราะเปลือกไข่ด้านในที่แตกออกมามีสีขาวเด่นชัด ทำให้ศัตรูสังเกตเห็นได้ง่าย แต่ถ้าเป็นนกชนิดที่ลูกนกสามารถออกเดินตามพ่อแม่ไปได้ทันทีที่ออกจากไข่ พ่อแม่ก็ไม่จำเป็นต้องสนใจเปลือกไข่ เพราะพ่อแม่นกจะนำลูกนกทิ้งรังออกไปหากินที่อื่น
ลูก นกแรกเกิดมีวิวัฒนาการที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตในช่วงที่ต้องอยู่กับพ่อแม่ ถ้าเป็นลูกนกที่อยู่ในไข่จนโตเต็มที่จึงออกมา ลูกนกประเภทนี้พอออกจากไข่จะลืมตาได้เลย มีขนอุยขึ้น และสามารถออกจากรังได้ทันที เช่น ลูกเป็ด ลูกไก่ พ่อแม่จะพาลูกออกจากรังไปหากินได้เลย แต่หากเป็นลูกนกที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ลูกนกประเภทนี้ออกจากไข่โดยมี ขนอุยปกคลุม ตัวน้อยมากหรือไม่มีเลยยังลืมตาไม่ได้ และขาไม่แข็งแรง เช่น ลูกนกแต้วแล้ว ลูกนกแก้ว พ่อแม่ต้องนำอาหารมาป้อนให้ อาหารที่นำมาป้อนต้องมีโปรตีนสูง เพราะจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกนก แม้แต่นกที่กินผลไม้หรือน้ำหวาน พ่อแม่ยังต้องนำหนอนหรือแมลงมาป้อนลูกนก ซึ่งพ่อแม่นกมีวิธีป้อนอาหารให้ลูกนกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่ลูกนกได้รับอาหารจากปากพ่อแม่โดยตรง สำหรับน้ำลูกนกจะได้รับปนมากับอาหาร
พฤติกรรม อีกประการหนึ่งซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่นกคือ ป้องกันภัยให้ลูกนก พ่อแม่นกเกือบทุกชนิดต้องเฝ้าดูแลให้ลูกนกปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา หากมีศัตรูเข้ามาใกล้ พ่อแม่อาจใช้วิธีขับไล่โดยตรงหรือใช้วิธีอำพรางศัตรู เช่น นกกระแตแต้แว้ด จะแกล้งทำปีกหักล่อให้ศัตรูหันมาสนใจกับตนแทนลูกนก เมื่อเห็นว่าลูกนกปลอดภัยแล้ว จึงรีบบินหนีไปอย่างรวดเร็ว เมื่อใดก็ตามที่เราเห็นนกมีลักษณะก้าวร้าวอาจจะบินโจมตีหรือส่งเสียงขับไล่ นั่นหมายถึงว่ามีรังพร้อมทั้งลูกนกอยู่บริเวณนั้น ดังนั้นเราจึงต้องระมัดระวังไม่เข้าใกล้รังจนเกินไปหรือหลีกเลี่ยงไปทางอื่น เสีย เพื่อไม่ให้เป็นรบกวนจนนกต้องทิ้งรังไปหรืออาจเป็นการนำศัตรูของนกเข้าไปที่ รังได้
พ่อ แม่นก ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงดูลูกนกนานหลายสัปดาห์โดยลูกนกจะได้รับการฝึกหัดจาก พ่อแม่ทุกประการ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่รอดด้วยตนเองได้ ลูกนกจะได้รับการสอนให้หาอาหารเอง รู้จักเลือกกินอาหาร หัดบิน ส่งเสียงร้อง และพฤติกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต
พฤติกรรม ต่างๆ ที่นกแสดงออกเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการเกี้ยวพาราสี การคาบวัสดุสร้างรังหรือป้อนอาหาร หากเราสังเกตดูจะทราบว่านกกำลังอยู่ในช่วงผสมพันธุ์ ซึ่งเป็นพฤติกรรมในช่วงวงจรชีวิตของนกที่เราควรบันทึกรายละเอียด วันเวลา สถานที่ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาเรื่องราวการดำรงชีวิตของนก รวมทั้งลักษณะของรังและพัฒนาการของลูกนกที่พบ การเฝ้าสังเกตนกที่อยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จะต้องทำอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อมิให้เป็นการรบกวนนก เพราะอาจทำให้นกทิ้งรังและไข่ได้ หรือหากไข่ถูกทิ้งนานเกินไปอุณหภูมิไม่คงที่อาจจะทำให้ไข่นั้นไม่ฟัก และการปรากฎตัวใกล้รังนกบ่อยๆ อาจทำให้สัตว์ล่าสงสัยและเข้ามาพบรังนกได้
ช่วงผลัดขน
เป็น ช่วงเวลาที่นกแสดงพฤติกรรมน่าสนใจอีกช่วงหนึ่งของปี คือ เป็นช่วงที่นกผลัดเปลี่ยนขนชุดใหม่แทนชุดเก่าที่ชำรุดหรือฉีกขาด นกส่วนใหญ่ผลัดขนปีละครั้ง ส่วนใหญ่ผลัดขนหลังฤดูผสมพันธุ์ แต่นกที่มีการอพยพย้ายถิ่นจะผลัดขนปีละ 2 ครั้ง นกบางชนิดผลัดขนทั้งที่ขนชุดเก่ายังใช้งานได้ดี เพื่อให้ได้ขนชุดใหม่ที่มีสีสันสดใสขึ้น สำหรับดึงดูดเพศตรงข้ามในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เช่น นกชายเลน
การ ผลัดขนเกิดขึ้นตามลำดับที่คงที่เจาะจง เช่น เริ่มจากขนปีกไปตามลำดับ และแม้ว่าจะอยู่ในช่วงผลัดขน แต่นกส่วนใหญ่ยังคงบินได้อยู่ แต่อาจมีนกเป็ดน้ำบางชนิดที่บินไม่ได้ในช่วงผลัดขนนกจะไม่ผลัดขนในช่วงฤดู ผสมพันธุ์ เพราะต้องการโปรตีนเพื่อให้ขนเจริญเติบโต และไม่เกิดในช่วงย้ายถิ่นด้วย เพราะนกต้องการขนที่มีสภาพดีพอที่จะบินได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระยะไกล แต่จะผลัดขนในช่วงก่อนบินย้ายถิ่น สภาพและสีสันของขนที่เห็นช่วยจำแนกให้ทราบว่า นกที่พบเป็นตัวเต็มวัยหือนกวัยอ่อน และอาจช่วยจำแนกชนิดได้ด้วย แต่บางครั้งเมื่ออยู่ในช่วงผลัดขน เราอาจจำแนกชนิดได้ผิดพลาดเมื่อดูจากสีขนที่เปลี่ยนไป เพราะตามปกตินกตัวผู้บางชนิดมีสีขนสวยงาม แต่พอหมดฤดูผสมพันธุ์จะสลัดขนทิ้งแล้วมีขนใหม่ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งขนชุดใหม่จะมีสีซีดจางคล้ายกับขนของนกตัวเมีย ทำให้เราสับสนได้ระหว่างนกตัวผู้กับนกตัวเมีย ขนของนกตัวผู้ในช่วงนี้เรียกว่า eclipse ส่วนมากพบในพวกนกเป็ดน้ำและนกกินปลีบางชนิด
ช่วงย้ายถิ่น
การ อพยพย้ายถิ่นของนกเป็นวงจรชีวิตที่สำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความ เปลี่ยนแปลง ของฤดูกาลเนื่องจากนกต้องการอาหารสำหรับเลี้ยงชีพและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะ สมในการดำรงชีวิตตลอดทั้งปี นกที่อาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อนมักไม่ต้องย้ายถิ่น เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และมีอาหารการกินตลอดทั้งปี ซึ่งตรงข้ามกับนกในแถบเหนือของโลก ที่มีอากาศหนาวเย็นมากในช่วงฤดูหนาวแหล่งอาหารถูกปกคลุมด้วยหิมะจนทำให้ อาหารหายาก นกส่วนใหญ่จึงต้องบินย้ายถิ่นเพื่อความอยู่รอดไปยังแหล่งที่มีอาหารอุดม สมบูรณ์กว่า โดยบินลงใต้มาหากินและอาศัยอยู่ทางเขตร้อน ที่มีอาหารและอากาศอบอุ่นกว่าตลอดช่วงฤดูหนาว ก่อนจะบินอพยพกลับไปยังถิ่นเดิมเพื่อสร้างรังวางไข่อีกครั้งเมื่อฤดูหนาว ผ่านพ้นไป หมุนเวียนเช่นนี้ทุกปี
แม้ นกอพยพส่วนใหญ่จะบินย้ายถิ่นมาจากแถบตอนเหนือของโลก เช่น ยุโรปหรือไซบีเรีย แต่นกบางชนิดในเขตร้อนก็มีการอพยพเหมือนกัน เช่น นกยางดำ นกแต้วแล้วธรรมดา บินมาวางไข่ในประเทศไทยช่วงฤดูฝน เพื่อหนีจากลมมรสุมในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร และจะบินกลับไปเมื่อถึงฤดูหนาว ส่วนนกปากห่างอพยพเข้ามาทำรังวางไข่ในประเทศช่วงหน้าแล้ง และบินกลับไปบังคลาเทศและอินเดียเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน
อุณหภูมิ ที่ค่อยๆ ลดต่ำ เวลากลางวันที่สั้นกว่ากลางคืน เป็นสิ่งกระตุ้นให้นกเริ่มเตรียมตัวเพื่อการอพยพย้ายถิ่น นกจะกินอาหารเพื่อสะสมพลังงานให้เต็มที่ และเมื่อผลัดขนชุดใหม่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการบินทางไกล นกจึงเริ่มอพยพย้ายถิ่น นกในอเมริกาเหนือจะบินสู่อเมริกาใต้ นกทางฝั่งยุโรปจะบินลงสู่แอฟริกา นกที่อาศัยอยู่ทางเหนือของยุโรปและเอเชียจะบินลงสู่เอเชียใต้ มีบางกลุ่มบินไปจนถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นกชายเลนในเอเชียส่วนใหญ่ทำรังวางไข่ทางเขตทุนตราในไซบีเรีย มองโกเลียและตอนเหนือสุดของประเทศจีน เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์จะพากันอพยพย้ายถิ่นลงมาทางตอนใต้ เพื่อมาอาศัยหากินในเอเชียตอนล่าง เลยไปจนถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
เส้นทางการย้ายถิ่น
นก แต่ละชนิดเลือกเส้นทางและช่วงเวลาบินต่างกัน นกขนาดเล็ก เช่น นกกินแมลงมักบินอพยพในช่วงกลางคืน เพราะอากาศคงที่ อุณหภูมิต่ำช่วยลดการสูญเสียพลังงานได้มากและช่วยให้ปลอดภัยจากศัตรูโดยใช้ เวลากลางวันพักหาอาหาร ส่วนนกขนาดใหญ่ เช่น นกอินทรี นกกระสา จะบินอพยพในตอนกลางวันและพักในตอนกลางคืน นอกจากนี้มีนกหลายชนิดที่บินอพยพทั้งกลางวันและกลางคืน
นก มักบินอพยพไปพร้อมกันเป็นฝูง เช่น นกชายเลน นกเป็ดน้ำ แม้กระทั่งนกที่ชอบอยู่ตามลำพังอย่าง นกกระสาหรือเหยี่ยว จะรวมกันเป็นกลุ่มเมื่อบินอพยพ เพราะการบินรวมกันเป็นฝูงช่วยทำให้นกหาทิศทางได้ดีกว่าบินตามลำพัง จกจะบินเกาะกลุ่มกันอย่างเป็นระเบียบ เช่น ฝูงห่านป่าจะบินรวมกันเป็นรูปตัววี ในแต่ละวันนกบินอพยพเป็นระยะทางมากกว่า 400 กิโลเมตร ทุกปีนกหลายล้านตัวจึงบินอพยพเป็นระยะทางไกลด้วยเส้นทางไกลด้วยเส้นทางเดิม เส้นทางที่นกเลือกต้องมีสภาพพิ้นที่ที่อุดมสมบูรณ์และเอื้อประโยชน์ต่อการ ย้ายถิ่นของนกแต่ละชนิดต่างกันไป เช่น นกชายเลนจะบินย้ายถิ่นไปตามแนวชายฝั่ง เพื่อแวะพักหาอาหารไปตลอดทาง สำหรับนกที่มีขนาดใหญ่ เช่น นกกระสาหรือนกอินทรีจะต้องบินไปตามแผ่นดินเสมอเพื่อใช้การลอยตัวของอากาศ ร้อนช่วยในการพยุงตัวและ ร่อนไป
มี ข้อสรุปมากมายเกี่ยวกับเส้นทางบินของนก นักปักษีวิทยาหลายคนอ้างถึงการมีส่วนช่วยของสัญชาตญาณหรือกรรมพันธุ์ แต่ก็ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้แน่ชัด มีเหตุผลกล่าวอ้างว่า นกใช้การสังเกตดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์เป็นเครื่องกำหนดทิศเช่นเดียวกับเข็ม ทิศหรือ นกอาจใช้สนามแม่เหล็กในการหาทิศทางหรือใช้วิธีจำกลิ่นไอของเส้นทาง แต่เหตุผลที่ยอมรับกันมากที่สุดบอกว่า นกบินตามเส้นทางเดิมได้ถูกต้องโดยใช้การจำทิศทางโดยอาศัยชายฝั่ง แนวเทือกเขา และแม่น้ำเป็นเครื่องหมายแทนแผนที่ และนกวัยอ่อนคงจดจำตามนกที่โตกว่า ดังนั้นนกส่วนใหญ่จึงมักอพยพรวมกันเป็นฝูง เพื่อช่วยในการหาทิศทาง แต่ในบางครั้งอาจมีนกบางส่วนหลงไปจากพื้นที่เดิมจนไปถึงแหล่งใหม่ ซึ่งเป็นเหตุให้เราพบนกชนิดใหม่ในประเทศไทยได้เป็นประจำในช่วงที่นกย้ายถิ่น
นัก ปักษีวิทยามีความ พยายามที่จะศึกษาเส้นทางการบินอพยพของนกกันอย่างกว้างขวาง เพื่อที่จะได้ทราบถึงสภาพพื้นที่ที่นกเลือกบินผ่านว่า มีความสมบูรณ์และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในแต่ละปีเพื่อนำข้อมูลที่ได้มา ใช้สำหรับการศึกษาหาแนวทางในการอนุรักษ์นกเหล่านั้น วิธีการศึกษาเส้นทางอพยพของนกมีหลายวิธีต่างกันออกไป ตั้งแต่การนับจำนวนนกที่บินผ่านดวงจันทร์ เพื่อบันทึกเวลาและทิศทางบินวิธีติดตั้งวิทยุเป็นวิธีที่ได้ผลอย่างหนึ่ง แต่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างเรดาห์ก็ถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบจำนวน ทิศทางการบินแม้จะได้ผลค่อนข้างดี แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ไม่อาจแยกจำนวนนกได้สำหรับวิธีศึกษาการย้ายถิ่นของนก ที่นิยมกันมากที่สุดคือ จับนกมาติดห่างหรือปลอกที่ขาแล้วปล่อยไปหลังจากนั้นจึงจับนกกลับมาตรวจสอบ ข้อมูลอีกครั้ง นักปักษีวิทยาชาวเดนมาร์กชื่อ เฮซ ซี ซี มอร์เตนเซน เป็นผู้นำวิธีนี้มาใช้เป็นคนแรกเมื่อปี พ . ศ . 2442 โดยสวมปลอกแหวนสังกะสีกับนกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรปจำนวน 165 ตัว พร้อมกับสลักชื่อปีและสถานที่ไว้บนปลอก หลังจากนั้นวิธีนี้ก็ได้รับความนิยมเรื่อยมา มีการพัฒนาให้ปลอกมีน้ำหนังเบาและใส่รายละเอียดเพิ่มมากขึ้น แต่การใส่ปลอกขานกมีข้อเสียคือ มักเก็บนกที่ใส่ปลอกกลับคืนมาได้น้อย จึงต้องใส่ปลอกขาเป็นจำนวนมาก ถึงจะมีโอกาสจับกลับคืนมาได้สูง
ประเทศ ไทยอยู่ในแถบอบอุ่นบริเวณเส้นศูนย์สูตร มีสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลไม่แตกต่างกันมากนัก ทำให้มีอาหารสมบูรณ์ให้นกนานาชนิดได้หากินดำรงชีวิตอย่างสบายตลอดปี ในจำนวน 960 ชนิดที่พบในประเทศไทย มีจำนวน 1 ใน 3 เป็นนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามา สำหรับนกที่อพยพเข้ามายังประเทศไทยเป็นกลุ่มนกที่บินมาจากไซบีเรีย มองโกเลีย จีน และเกาหลี พวกนกที่กินแมลง ส่วนใหญ่บินจากป่าสนไทก้าในไซบีเรีย มีนกกระจิ๊ดบางชนิดบินมาไกลจากยุโรป ส่วนนกเป็ดน้ำและนกชายเลนยินมาจากเขตทุนดราตอนเหนือของรัสเซีย ซึ่งเราจะพบนกอพยพเหล่านี้กระจายหากินอยู่ในภูมิประเทศที่แตกต่างกันออกไป เช่น ป่าไม้ หนองบึง บนยอดดอย ชายทะเล หรือแม้กระทั่งในเมืองและตามท้องทุ่ง ช่วงย้ายถิ่นของนกเป็นโอกาสให้นักดูนกสามารถพบนกชนิดใหม่ต่างไปจากนกประจำ ถิ่นที่เคยพบอยู่ตลอดปี และการได้พบนกย้ายถิ่นชนิดต่างๆ ตลอดจนสังเกตเส้นทางการบินและแหล่งอาศัยที่พบ จะทำให้เราทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ อันจะนำไปสู่การร่วมมือกันอนุรักษ์พื้นที่เหล่านั้นไว้ให้คงความอุดมสมบูรณ์ พอที่นกย้ายถิ่นจะได้กลับมาอาศัยอยู่ตลอดช่วงฤดูหนาว และยังเป็นการช่วยรักษาความสมดุลให้กับธรรมชาติตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น