มือใหม่ ก่อนที่จะเริ่มเลี้ยงนกแก้ว
คนไทยชอบเลี้ยงสัตว์มาแต่โบราณ แต่ตินิดตรงที่ เรามักจะซื้อมาก่อนแล้วค่อยเตรียมมาเตรียมตัว เตรียมอย่างอื่น แต่แนวทางที่ดีที่สุดของการเลี้ยงนกหรือสัตว์ใด ๆ ก็คือควร
- ศึกษาหาข้อมูล ของนกที่เราสนใจ
- ประเมินความพร้อมตัวเอง และตัดสินใจก่อนว่าจะเลี้ยงอย่างไร
- จำนวนที่จะเลี้ยง
- เลี้ยงที่ใด สถานที่พร้อมหรือไม่
- ใครจะดูแล ฯลฯ
เมื่อตัดสินใจแล้วอย่างแรก คือ เตรียมทุกอย่างให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำนกมาเข้ากรง และหลักในการพิจารณา ก็อาจมีแนวทางดังนี้
1. กรงเลี้ยง
ในกรณีเลี้ยงหลายตัว ต้องใช้กรงที่ใหญ่พอสมควร และที่สำคัญซี่กรงควรเป็นซี่ลวดที่แข็งแรง ไม่ควรใช้กรงที่พ่น หรือชุบสี เพื่อนกชนิดนี้ ชอบแทะอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นพึงระลึกอยู่เสมอว่า เลือกกรงผิด สิ่งที่เหลือก็คือ กรงเปล่า ๆ พร้อมกับร่องรอยของช่องเล็ก ๆ ที่ผ่านกันกัดจนขาด...
2. อาหาร
อาหารสำหรับนกแก้วชนิดนี้ ประกอบด้วยกลุ่มเมล็ดพืช และอาหารสด
กลุ่มเมล็ดพืชประกอบด้วยเมล็ดพืชต่าง ๆ อาทิ เมล็ดทานตะวัน,ฟักทอง,มิลเลต,ข้าวไรน์,ข้าวเปลือกนกเขา,ฮวยมั้ว ฯลฯ สลับด้วยอาหารสดยามบ่าย เช่น ข้าวโพด ผลไม้หลากชนิดหั่นผสม เช่น แอปเปิ้ล,องุ่น,ส้ม แครอท บล๊อกเคอรี่ หญ้าขน ผักโขม ตะไคร้ ฯลฯ
3. สถานที่
ในกรณีที่เป็นกรงรวม (aviary) ควรมีความสูงสักหน่อย อย่างน้อย ควรจะเป็นสัก 1.60 เมตร (หากเป็นกรงที่เตี้ยกว่า ก็ควรวางหรือทำฐานให้สูงให้ได้ประมาณนี้) เหตุผลก็เพราะกรงที่ต่ำเกินไป จะทำให้นกเกิดความเครียด เพราะธรรมชาตินกชนิดนี้ไม่ใช่นกที่หากินบนดิน แบบพวกนกเขา,หรือนกฟินซ์ และความหวาดระแวงต่อศัตรูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น งู แมว ฯลฯ
กรณีเลี้ยงเป็นคู่ กรงลวดหมอนเบอร์ 2 (ตามร้านขายสัตว์เลี้ยงจำพวกนกจะทราบดี) ดูจะเหมาะสมดี และควรใช้วิธีแขวนติดผนังทึบ และด้านบนปิดทับด้วยแผ่นพลาสติกใส (ป้องกันนกกระจอกเกาะแล้วถ่ายมูลลงในน้ำดื่มนก)
สถานที่จัดวาง หรือ แขวน ควรอยู่นอกบ้านและอยู่ใต้ชายคา (เว้นกรณีลูกนกที่เชื่อง) ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดโกรกจนเกินไป และหลีกเลี่ยงฝนที่จะสาดได้ รวมทั้งแดดที่ส่องอยู่ตลอดเวลาเกินไป
4. อุปกรณ์ในกรง
ประกอบด้วย ถ้วยใสอาหาร (แนะนำให้เป็นวัสดุแข็งจำพวก สแตนเลส หรือ ถ้วยที่ทำจากดินเผา) หลอดน้ำ หรืออ่างน้ำดื่ม , คอนไม้ ซึ่งควรมีมากกว่า 1 คอน ,ชิงช้าที่ทำจากไม้ แนะนำให้ใช้ไม้มะขามหรือไม้เนื้อแข็งมาทำเอง (หาอ่านคอนไม้หรือชิงช้าในเรื่องนกซีบร้าฟินซ์) เอาละ.. เมื่อทุกอย่างข้างต้นจัดเตรียมกันแล้วและพอรู้จักพื้นฐานกว้าง ๆ รวมทั้งแนวทางการแยกเพศได้แล้ว ก็เริ่มไปหานกมาเลี้ยงกัน
สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยซีเรียสเรื่องการนำมาเลี้ยงเป็นคู่ ๆ ก็ง่ายหน่อย เพราะอาจเลือกนกมาเลี้ยงรวม ๆ กันหลายตัว และเมื่อนกเริ่มจับคู่กัน จึงค่อยแยกมาจับตะเกียบตรวจความชัวร์อีกครั้ง ก็ไม่เลวนัก การเลี้ยงแบบนี้ ควรเลือกนกที่ยังไม่แก่ (นกเด็ก) ซึ่งดูจากแข้ง,ตีน,และจงอยปาก จะต้องดูสดใสไม่มีร่องหยาบกร้าน ดวงตาสดใส ตื่นตัวตลอดเวลา บริเวณขน ปีก ไม่ฟูฟ่อง เรียบสะอาด ที่ก้นสะอาดปราศจากคราบของมูลติดอยู่
เมื่อได้นกมาแล้ว ก่อนที่จะปล่อยนกเข้าสู่กรง ให้จัดเตรียมอาหารและทุกอย่างให้เรียบร้อยเสียก่อน อาหารของนกแก้วชนิด ประกอบด้วย เมล็ดทานตะวันดำเล็ก (นกจะชอบกว่าชนิดอื่น) ข้าวเปลือกนกเขา(เมล็ดสั้น) มิลเลตขาว,ฮวยมั้ยเล็กน้อย ผสมกันแล้วใส่ถ้วยวางไว้ให้
- ศึกษาหาข้อมูล ของนกที่เราสนใจ
- ประเมินความพร้อมตัวเอง และตัดสินใจก่อนว่าจะเลี้ยงอย่างไร
- จำนวนที่จะเลี้ยง
- เลี้ยงที่ใด สถานที่พร้อมหรือไม่
- ใครจะดูแล ฯลฯ
เมื่อตัดสินใจแล้วอย่างแรก คือ เตรียมทุกอย่างให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำนกมาเข้ากรง และหลักในการพิจารณา ก็อาจมีแนวทางดังนี้
1. กรงเลี้ยง
ในกรณีเลี้ยงหลายตัว ต้องใช้กรงที่ใหญ่พอสมควร และที่สำคัญซี่กรงควรเป็นซี่ลวดที่แข็งแรง ไม่ควรใช้กรงที่พ่น หรือชุบสี เพื่อนกชนิดนี้ ชอบแทะอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นพึงระลึกอยู่เสมอว่า เลือกกรงผิด สิ่งที่เหลือก็คือ กรงเปล่า ๆ พร้อมกับร่องรอยของช่องเล็ก ๆ ที่ผ่านกันกัดจนขาด...
2. อาหาร
อาหารสำหรับนกแก้วชนิดนี้ ประกอบด้วยกลุ่มเมล็ดพืช และอาหารสด
กลุ่มเมล็ดพืชประกอบด้วยเมล็ดพืชต่าง ๆ อาทิ เมล็ดทานตะวัน,ฟักทอง,มิลเลต,ข้าวไรน์,ข้าวเปลือกนกเขา,ฮวยมั้ว ฯลฯ สลับด้วยอาหารสดยามบ่าย เช่น ข้าวโพด ผลไม้หลากชนิดหั่นผสม เช่น แอปเปิ้ล,องุ่น,ส้ม แครอท บล๊อกเคอรี่ หญ้าขน ผักโขม ตะไคร้ ฯลฯ
3. สถานที่
ในกรณีที่เป็นกรงรวม (aviary) ควรมีความสูงสักหน่อย อย่างน้อย ควรจะเป็นสัก 1.60 เมตร (หากเป็นกรงที่เตี้ยกว่า ก็ควรวางหรือทำฐานให้สูงให้ได้ประมาณนี้) เหตุผลก็เพราะกรงที่ต่ำเกินไป จะทำให้นกเกิดความเครียด เพราะธรรมชาตินกชนิดนี้ไม่ใช่นกที่หากินบนดิน แบบพวกนกเขา,หรือนกฟินซ์ และความหวาดระแวงต่อศัตรูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น งู แมว ฯลฯ
กรณีเลี้ยงเป็นคู่ กรงลวดหมอนเบอร์ 2 (ตามร้านขายสัตว์เลี้ยงจำพวกนกจะทราบดี) ดูจะเหมาะสมดี และควรใช้วิธีแขวนติดผนังทึบ และด้านบนปิดทับด้วยแผ่นพลาสติกใส (ป้องกันนกกระจอกเกาะแล้วถ่ายมูลลงในน้ำดื่มนก)
สถานที่จัดวาง หรือ แขวน ควรอยู่นอกบ้านและอยู่ใต้ชายคา (เว้นกรณีลูกนกที่เชื่อง) ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดโกรกจนเกินไป และหลีกเลี่ยงฝนที่จะสาดได้ รวมทั้งแดดที่ส่องอยู่ตลอดเวลาเกินไป
4. อุปกรณ์ในกรง
ประกอบด้วย ถ้วยใสอาหาร (แนะนำให้เป็นวัสดุแข็งจำพวก สแตนเลส หรือ ถ้วยที่ทำจากดินเผา) หลอดน้ำ หรืออ่างน้ำดื่ม , คอนไม้ ซึ่งควรมีมากกว่า 1 คอน ,ชิงช้าที่ทำจากไม้ แนะนำให้ใช้ไม้มะขามหรือไม้เนื้อแข็งมาทำเอง (หาอ่านคอนไม้หรือชิงช้าในเรื่องนกซีบร้าฟินซ์) เอาละ.. เมื่อทุกอย่างข้างต้นจัดเตรียมกันแล้วและพอรู้จักพื้นฐานกว้าง ๆ รวมทั้งแนวทางการแยกเพศได้แล้ว ก็เริ่มไปหานกมาเลี้ยงกัน
สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยซีเรียสเรื่องการนำมาเลี้ยงเป็นคู่ ๆ ก็ง่ายหน่อย เพราะอาจเลือกนกมาเลี้ยงรวม ๆ กันหลายตัว และเมื่อนกเริ่มจับคู่กัน จึงค่อยแยกมาจับตะเกียบตรวจความชัวร์อีกครั้ง ก็ไม่เลวนัก การเลี้ยงแบบนี้ ควรเลือกนกที่ยังไม่แก่ (นกเด็ก) ซึ่งดูจากแข้ง,ตีน,และจงอยปาก จะต้องดูสดใสไม่มีร่องหยาบกร้าน ดวงตาสดใส ตื่นตัวตลอดเวลา บริเวณขน ปีก ไม่ฟูฟ่อง เรียบสะอาด ที่ก้นสะอาดปราศจากคราบของมูลติดอยู่
เมื่อได้นกมาแล้ว ก่อนที่จะปล่อยนกเข้าสู่กรง ให้จัดเตรียมอาหารและทุกอย่างให้เรียบร้อยเสียก่อน อาหารของนกแก้วชนิด ประกอบด้วย เมล็ดทานตะวันดำเล็ก (นกจะชอบกว่าชนิดอื่น) ข้าวเปลือกนกเขา(เมล็ดสั้น) มิลเลตขาว,ฮวยมั้ยเล็กน้อย ผสมกันแล้วใส่ถ้วยวางไว้ให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น